วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรม 22-26 พฤศจิกายน 2553

1. ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ลงในสมุดงานบันทึกคะแนนที่ได้


2. ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล พร้อมที่มาของแห่งข้อมูลลงใน Blog ของตนเอง กำหนดส่งท้ายคาบเรียนที่ 2 ดังนี้

ตอบ

ที่มา
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=3403179dd97cff1b&pli=1
ประมาณ 149 หรือ 152ล้าน km 149คือโคจรรอบดวงอาทิตย์เปงวงรี แต่ส่วนป่องของโลกจะร้อนเพราะอยู่ไกล้ดวงอาทิตย์อากาศจะร้อนมาก 152 ล้านkm เปงวงโคจรโลกเราตามปัจจุบัน อีกประมาณ 5000 ล้านปีก็จะไม่มีโลกใบนี้แล้ว เพราะดวงอาทิตย์กำลังขยายตัวและเกิดแรงโน้มถ่วงมหาศาล ดาวเคราะดวงในจะถูกดวงอาทิตย์กลืนกินเข้าไป
แงๆๆๆ สงสารโลกเราจังอีก 5000 ล้านปีจะถูกดวงอาทิตยฺกลืนกิน ระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์นั้นไม่แน่นอน โดยเฉลี่ยแล้วมีระยะทาง 149,000,000,000 เมตร หรือ 92,600,000 ไมล์ หรือ149,000,000 กม.



ตอบข้อ 3อัตราการเย็นตัวของลาวา
สืบค้นข้อมูล
หินภูเขาไฟ (Volcanic rock)หรือ หินอัคนีพุ (Extrusive rock) เกิดขึ้นเมื่อหินร้อนเหลวหรือแมกมาถูกดันและปะทุออกมานอกเปลือกโลก ซึ่งอาจจะออกมาตามรอยแตก หรือระเบิดออกมาเป็นภูเขาไฟกลายเป็นลาวา ลาวาจะเย็นตัวอย่างรวดเร็ว และแข็งตัวเป็นหินซึ่งมีผลึกขนาดเล็กถึงเล็กมาก ส่วนใหญ่จะมองไม่เห็นรูปของผลึกด้วยตาเปล่า ลาวาที่ถูกขับมาจากส่วนลึกของเปลือกโลกจะประกอบด้วยแร่ที่มีธาตุเหล็กและแมกนีเซียมสูง เมื่อแข็งตัวก็จะได้หินภูเขาไฟสีดำ ลาวาที่ถูกขับออกมาจากเปลือกโลกในระดับความลึกไม่มากนัก จะกลายเป็นหินภูเขาไฟสีอ่อน การปะทุขึ้นมาของแมกมาเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ได้แก่

การปะทุแบบไม่รุนแรง
การปะทุแบบรุนแรง
การปะทุแบบไม่รุนแรง
การปะทุแบบไม่รุนแรง เป็นการปะทุตามปล่องหรือรอยแตก รอยแยกของแผ่นเปลือกโลกลาวาไหลหลากเอ่อล้นไป ตามลักษณะภูมิประเทศ ลาวาจะถ่ายโอนความร้อนให้กับบรรยากาศภายนอกอย่างรวดเร็ว ทำให้อะตอมของธาตุ ต่าง ๆ มีเวลาน้อยในการจับตัวเป็นผลึก หินลาวาหลากจึงประกอบด้วยแร่ที่มีผลึกขนาดเล็กหรือเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นและจำแนกผลึกได้ด้วยตาเปล่า เช่น หินไรโอไลต์(Ryolite), หินแอนดีไซต์(Andesite), หินบะซอลต์(Basalt)
หินไรโอไลต์ (Ryolite) เป็นหินอัคนีพุซึ่งเกิดจากการเย็นตัวของลาวาที่มีความหนืดมาก มีปริมาณซิลิกามากกว่า 66 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อละเอียดซึ่งประกอบด้วยผลึกแร่ขนาดเล็ก มีแร่องค์ประกอบเหมือนกับหินแกรนิต แต่ทว่าผลึกเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ ส่วนมากมีสีชมพู และสีเหลือง
หินแอนดีไซต์ (Andesite) เป็นหินอัคนีพุซึ่งเกิดจากการเย็นตัวของลาวาที่มีความหนืดปานกลาง มีปริมาณซิลิกาอยู่ในช่วง 52-66 เปอร์เซ็นต์ เกิดในลักษณะเดียวกับหินไรโอไรต์ แต่มีองค์ประกอบของแมกนีเซียมและเหล็กมากกว่า จึงมีสีเขียวเข้ม
หินบะซอลต์ (Basalt) เป็นหินอัคนีพุ เนื้อละเอียด เกิดจากการเย็นตัวของลาวาที่มีความหนืดน้อย มีปริมาณซิลิกาอยู่ในช่วง 45-52 เปอร์เซ็นต์ มีสีเข้มเนื่องจากประกอบด้วยแร่ไพร็อกซีนเป็นส่วนใหญ่ อาจมีแร่โอลิวีนปนมาด้วย เนื่องจากเกิดขึ้นจากแมกมาใต้เปลือกโลก หินบะซอลต์หลายแห่งในประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดของอัญมณี (พลอยชนิดต่างๆ) เนื่องจากแมกมาดันผลึกแร่ซึ่งอยู่ลึกใต้เปลือกโลก ให้โผล่ขึ้นมาเหนือพื้นผิว
หินออบซีเดียน (Obsedian) เป็นหินอัคนีพุชนิดหนึ่งที่เกิดจากการเย็นตัวอย่างรวดเร็วจนผลึกมีขนาดเล็กมากจนถึงไม่มีเลย หินออบซีเดียนเป็นหินอัคนีพุที่มีเนื้อแก้วสีดำ

การปะทุแบบรุนแรง
การปะทุแบบรุนแรง เป็นการปะทุแบบระเบิด เกิดตามปล่องภูเขาไฟ ขณะที่แมกมาเกิดปะทุพ่นขึ้นมาด้วยแรง ระเบิดพร้อมกับฝุ่น ก๊าซ เถ้า ไอน้ำ และชิ้นวัตถุที่มีรูปร่างขนาดต่างๆ กันกระเด็นขึ้นไปบนอากาศ ชิ้นวัตถุเหล่านี้อาจเป็นเศษหินและแร่ เย็นตัวบนผิวโลกตกลงมาสะสมตัวทำให้เกิดแหล่งสะสมชิ้นภูเขาไฟ เมื่อแข็งตัวจะเป็นหินชิ้นภูเขาไฟหรือหินตะกอนภูเขาไฟ (pyroclastic rock)ได้แก่ หินทัฟฟ์ (tuff), หินแอกโกเมอเรต (agglomerate), หินพัมมิซ (Pumice), หินสคอเรีย (Scoria), หินออบซีเดียน(Obsedian) เป็นต้น
หินทัฟฟ์ (Tuff) เป็นหินเถ้าภูเขาไฟ พบมากในบริเวณที่ราบภาคกลาง โดยพบเป็นบริเวณแคบทางด้านตะวันตกตั้งแต่ด้านตะวันตกของจังหวัดอุทัยธานี จนถึงด้านตะวันออกของจังหวัดนครสวรรค์, บริเวณเทือกเขาเพชรบูรณ์ และบริเวณฝั่งทะเลภาคตะวันออก
หินแอกโกเมอเรต(Agglomerate)
หินพัมมิซ (Pumice) เป็นหินแก้วภูเขาไฟชนิดหนึ่งซึ่งมีฟองก๊าซเล็กๆ อยู่ในเนื้อมากมายจนโพรกคล้ายฟองน้ำ มีส่วนประกอบเหมือนหินไรโอไลต์ มีน้ำหนักเบา ชาวบ้านเรียกว่า หินส้ม ใช้ขัดถูภาชนะทำให้มีผิววาว
หินสคอเรีย (Scoria)เป็นหินแข็ง สาก เปราะ เบา และมีรูพรุน ไม่ทนต่อการสึกกร่อน ใช้ทำหินสำหรับขัด
ที่มา


http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%9F



ตอบ 3 การชนกันของเเผ่นเปลือกโลก

ที่มา

http://geothai.net/2009/index.php?option=com_content&view=article&id=38:-convergent-plate-boundaries&catid=57:tectonics&Itemid=100007

แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน คือบริเวณที่แผ่นธรณีภาค (lithospheric plates) มีการเคลื่อนที่เข้าหาอีกแผ่นหนึ่ง การเคลื่อนที่เข้าชนกันของแผ่นเปลือกโลกนี้สามารถก่อให้เกิดแผ่นดินไหว (earthquakes) ภูเขาไฟ (volcanic activity) และการเปลี่ยนลักษณะของเปลือกโลก (crustal deformation)



แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากันระหว่างแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรกับแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป (Oceanic and Continental Plates): (ดูภาพประกอบด้านบน) เมื่อแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรกับแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปเคลื่อนที่เข้าชนกัน แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรที่บางและมีความหนาแน่นสูงกว่าจะมุดตัวลงไปใต้แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปที่หนาและความหนาแน่นน้อยกว่า การที่แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรมุดตัวไปถึงชั้นแมนเทิลเราเรียกกระบวนการนี้ว่า "subduction" ในขณะที่แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรมุดตัวลงมันจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น จนกระทั่งที่ความลึกประมาณ 100 ไมล์ (160 กิโลเมตร) วัสดุในแผ่นเปลือกโลกที่มุดตัวจะเข้าใกล้จุดหลอมเหลวและเริ่มเข้าไปรบกวนสมดุลของวัสดุในชั้นแมนเทิล ทำให้วัสดุในชั้นแมนเทิลบริเวณนี้มีการหลอมเป็นบางส่วน (partial melting) เกิดขึ้น


ตอบ 4 หินดินดาน

ที่มา

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%99

หินดินดาน (อังกฤษ: Shale) เป็นหินตะกอนเนื้อเม็ด (clastic sedimentary rock) ที่มีเนื้อละเอียดมาก มีองค์ประกอบของโคลนที่มีแร่ดิน (clay minerals) ปนกับเศษแร่ที่มีขนาดทรายแป้ง โดยเฉพาะแร่ควอร์ตซ์ และแร่แคลไซต์ โดยจะมีสัดส่วนองค์ประกอบของแร่ที่แปรเปลี่ยนไปอย่างกว้างขวาง ลักษณะเด่นของหินดินดานนี้จะมีฟิสซิลิตี (fissility) ที่เห็นเป็นแนวรอยแตกขนานไปกับชั้นบางๆที่มักมีความหนาน้อยกว่า 1 เซนติเมตร ส่วนหินโคลน (mudstone) นั้นองค์ประกอบจะคล้ายกับหินดินดานแต่จะไม่แสดงลักษณะฟิสซิลิตี

ตอบ 2 เเผ่นยูเรเซียกับเเผ่นอินเดีย
ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81

ธรณีแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (อังกฤษ: Plate tectonics; มาจากภาษากรีก: τέκτων, "tektōn" แปลว่า "ผู้สร้าง") เป็นทฤษฎีเชิงธรณีวิทยาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายถึงหลักฐานจากการสังเกตการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ โดยทฤษฎีนี้ได้รวมและลบล้างทฤษฎีเก่าที่เกี่ยวกับการเลื่อนไหลของทวีปที่ถูกเสนอขึ้นมาระหว่าง พ.ศ. 2443-2493 รวมถึงแนวคิดที่เกี่ยวกับการกระจายของพื้นทะเลที่ถูกคิดขึ้นระหว่างคริสตทศวรรษที่ 1960 (ช่วงต้น พ.ศ. 2500)
ส่วนนอกสุดของโครงสร้างของโลกนั้นประกอบไปด้วยชั้นสองชั้น ชั้นที่อยู่นอกสุดคือชั้นดินแข็ง (lithosphere) ที่มีเปลือกโลกและชั้นนอกสุดของแมนเทิลที่เป็นเย็นตัวและแข็งแล้ว ภายใต้ชั้นดินแข็งคือชั้นดินอ่อน (aethenosphere) ซึ่งแม้ว่ายังมีสถานะเป็นของแข็งอยู่ แต่ชั้นดินอ่อนนั้นมีความยืดหยุ่นค่อนข้างต่ำและขาดความแข็งแรง ทั้งยังสามารถไหลได้คล้ายของเหลวซึ่งขึ้นอยู่กับลำดับเวลาเชิงธรณีวิทยา ชั้นแมนเทิลที่อยู่ลึกลงไปภายใต้ชั้นดินอ่อนนั้นจะมีความแข็งมากขึ้นอีกครั้ง กระนั้นความแข็งดังกล่าวไม่ได้มาจากการเย็นลงของอุณหภูมิ แต่เนื่องมาจากความดันที่มีอยู่สูง
ชั้นดินแข็งนั้นจะแตกตัวลงเป็นสิ่งที่เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก ซึ่งในกรณีของโลกนั้น สามารถแบ่งเป็นแผ่นขนาดใหญ่ได้เจ็ดแผ่น และแผ่นขนาดเล็กอีกจำนวนมาก แผ่นดินแข็งจะเลื่อนตัวอยู่บนชั้นดินอ่อน และจะเคลื่อนตัวสัมพันธ์กับแผ่นเปลือกโลกอื่นๆ ซึ่งการเคลื่อนที่นี้สามารถแบ่งได้เป็นสามขอบเขตด้วยกันคือ ขอบเขตที่มีการชนกันหรือบรรจบกัน, ขอบเขตที่มีการแยกตัวออกจากกันหรือกระจายจากกัน และขอบเขตที่มีการแปลงสภาพ โดยปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาต่างๆ ได้แก่แผ่นดินไหว, ภูเขาไฟปะทุ, การก่อตัวขึ้นของภูเขา และการเกิดขึ้นของเหวสมุทรนั้นจะเกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตแผ่นดิน การเคลื่อนตัวด้านข้างของแผ่นดินนั้นมีอัตราเร็วอยู่ระหว่าง 0.66 ถึง 8.50 เซนติเมตรต่อปี
นอกจากนี้ยังมีแผ่นเปลือกโลกที่มีขนาดเล็กกว่าได้แก่แผ่นอินเดียน, แผ่นอาระเบียน, แผ่นแคริเบียน, แผ่นฮวนเดฟูกา, แผ่นนาซคา, แผ่นฟิลิปปินส์และแผ่นสโกเทีย
การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกนั้นมีสาเหตุมาจากการรวมตัวและแตกออกของทวีปเมื่อผ่านช่วงเวลาหนึ่งๆ รวมถึงการรวมตัวของมหาทวีปในบางครั้ง ซึ่งได้รวมทุกทวีปเข้าด้วยกัน มหาทวีปโรดิเนีย (Rodinia) นั้นคาดว่าก่อตัวขึ้นเมื่อหนึ่งพันล้านปีที่ผ่านมา และได้ครอบคลุมผืนดินส่วนใหญ่บนโลก จากนั้นจึงเกิดการแตกตัวไปเป็นแปดทวีปเมื่อ 600 ล้านปีที่แล้ว ทวีปทั้งแปดนี้ต่อมาเข้ามาร่วมตัวกันเป็นมหาทวีปอีกครั้ง โดยมีชื่อว่าแพนเจีย (Pangaea) และในทึ่สุด แพนเจียก็แตกออกไปเป็นทวีปลอเรเซีย (Laurasia) ซึ่งกลายมาเป็นทวีปอเมริกาเหนือและยูเรเซีย และทวีปกอนด์วานา (Gondwana) ซึ่งกลายมาเป็นทวีปอื่นๆ นอกเหนือจากที่ได้กล่าวข้างต้น ดังที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้
การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก


การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (plate motion) คือลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นที่อยู่ติดกัน สามารถจำแนกได้ออกเป็น 3 รูปแบบ ตามลักษณะการเคลื่อนที่สัมพัทธ์กันระหว่างแผ่นเปลือกโลกทั้งสอง ได้ดังต่อไปนี้
การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบเคลื่อนผ่านกัน
การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบเคลื่อนแยกจากกัน
การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบเคลื่อนเข้าหากัน



ตอบ 4 การเคลื่อนตัวของเเผ่นเปลือกโลก
ที่มา
http://www.m4234m.20m.com/E_Move.htm


เปลือกโลกมิได้เป็นแผ่นเดียวต่อเนื่องติดกันดังเช่นเปลือกไข่ หากแต่เหมือนเปลือกไข่แตกร้าว มีแผ่นหลายแผ่นเรียงชิดติดกันเรียกว่า “เพลต” (Plate) ซึ่งมีอยู่ประมาณ 20 เพลต เพลตที่มีขนาดใหญ่ ได้แก่ เพลตแปซิฟิก เพลตอเมริกาเหนือ เพลตอเมริกาใต้ เพลตยูเรเซีย เพลตแอฟริกา เพลตอินโด-ออสเตรเลีย และเพลตแอนตาร์กติก เป็นต้น เพลตแปซิฟิกเป็นเพลตที่ใหญ่ที่สุดและไม่มีเปลือกทวีป กินอาณาเขตหนึ่งในสามของพื้นผิวโลก เพลตทุกเพลตเคลื่อนตัวเปลี่ยนแปลงขนาดและรูปร่างอยู่ตลอด


ตอบ 4 หินตะกอน

ที่มา

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%99

หินตะกอน (อังกฤษ: sedimentary rock) คือ หินที่เกิดจากการตกตะกอนของเม็ดแร่ที่ได้จากการผุพังของหินชนิดใดก็ได้ที่ผิวโลก และถูกพัดพาไปโดย น้ำ ลม หรือธารน้ำแข็ง แล้วจับตัวกันแข็งเป็นหิน หรือ เกิดจากการตกตะกอนทางเคมีของสารละลายจากในน้ำ ในลำธาร ทะเล หรือมหาสมุทร เนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีหรือการระเหยของน้ำ ที่อุณหภูมิปกติบนผิวโลก ลักษณะเด่นของหินตะกอน คือ การเกิดเป็นชั้น อาจมีซากดึกดำบรรพ์ หรือแสดงลักษณะโครงสร้างของการตกตะกอนตามลำดับอายุ




ตอบ 3 ชั้นเนื้อโลก

ที่มา

http://learn.chanpradit.ac.th/nuch/urat6-3/Untitled-4.htm

ชั้นเนื้อโลก (mantle) ชั้นเนื้อโลก (mantle) เป็นชั้นที่อยู่ถัดไปจากเปลือกโลก ส่วนมากเป็นของแข็งเป็นหินที่เย็นตัวแล้วและบางส่วนมีรอยแตกเนื่องจากความเปราะ ลึก2900กิโลเมตรชั้นเนื้อโลกส่วนบนรวมกับชั้นเปลือกโลก เรียกว่า “ธรณีภาค” มีความหนา 100กิโลเมตรนับจากผิวลงไปชั้นเนื้อโลกถัดไปมีความลึก 100-350กิโลเมตร เรียกว่า ฐานธรณีภาค เป็นชั้นหินหลอมละลาย ที่ เรียกว่า แมกมาชั้นเนื้อโลกที่มีความลึก 350-2,900 กิโลเมตร เป็นชั้นที่เป็นของแข็งร้อนแต่แน่นและหนืดกว่าตอนบน มีอุณหภูมิ ประมาณ2,250-4,500 องศา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น